อุปกรณ์ ที่ใช้ในการลงสี
#B1
|
แปรง (Brush)
|
ในการเลือกใช้แปรงทาสีหรือแปรงทาน้ำมันเคลือบใสโดยทั่วไปนั้น
สิ่งที่สำคัญที่สุดจะต้องพิจารณาได้แก่ คุณภาพของขนแปรง
ทั้งนี้เนื่องจากขนแปรงคุณภาพดีจะกักเนื้อสีได้มากทำให้ไม่หยดหรือกระเด็นมากจนเกินไปขณะทำงาน
นอกจากนั้นยังทำให้สามารถทาได้เรียบและไม่เกิดรอยแปรง
จึงเป็นผลทำให้เกิดการประหยัดสีและงานที่ออกมามีความเรียบร้อยและสวยงาม
แปรงที่ใช้ในการทาสีไม้แปรรูปเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ชาวบ้านใช้ได้แก่
แปรงขนอ่อน 2 ชนิด
แปรงขนอ่อนมีลักษณะเป็นแปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม
ละเอียดอ่อน มีสีขาวขนแปรงทำมาจากขนกระต่ายหรือขนไนล่อน ด้ามแปรงทำด้วยไม้เนื้ออ่อนโคนแปรงหุ้มด้วยแผ่น
อีกชนิดที่ยังนิยมใช้อยู่คือแปรงขนอ่อนที่ด้ามจับทำจากปล้องไม้ไผ่ขนาดเล็ก
นำมาติดกันเป็นแผงมีหลายขนาด นิยมเรียกเป็นซี่ เช่น 2,4,6,8,10,12,14 และ 16 ซี่
เป็นต้น การใช้งานควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน อย่านำแปรงขนาดใหญ่ซี่มากๆ
มาแยกจากกัน เพื่อให้เป็นแปรงขนาดเล็ก จะทำให้แปรงหลุดออกจากปล้องไม้ไผ่ได้
นิยมใช้การทาแลกเกอร์ เชลแล็ก วานิช น้ำยาเคลือบเงาชนิดต่างๆ
ก่อนนำไปใช้งานต้องหยอดโคนแปรงด้วยแลกเกอร์หรือเชลแล็กเสียก่อน
แปรงขนอ่อนที่นิยมใช้ส่วนมากทำมาจากขนกระตาย จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
แปรงขนกระต่าย
วิธีการหยอดโคนแปรงขนอ่อน
1) ก่อนนำแปรงขนอ่อนไปใช้ทาเชลแล็กต้องนำแปรงดังกล่าวไปหยอดโคนแปรงด้วยแลกเกอร์ทิ้งไว้ให้แห้ง
เพื่อให้แลกเกอร์ยึดเกาะโคนแปรงให้ติดกันแน่น ขนแปรงจะได้ไม่หลุดขณะปฏิบัติงาน
2) ในทำนองเดียวกันถ้าต้องการนำแปรงขนอ่อนไปใช้ทาแลกเกอร์
ก็ต้องหยอดโคนแปรงด้วยเชลแล็ก ทิ้งไว้ให้แห้ง
เพื่อให้เชลแล็กยึดเกาะโคนแปรงให้ติดแน่น ขนแปรงจะได้ไม่หลุดในขณะปฏิบัติงาน
3) เมื่อใช้งานแปรงเสร็จให้เก็บแปรงไว้ในถุง หรือ แขวนไว้ในที่โล่ง
ใช้มือจัดขนแปรงให้เรียบตรงเมื่อจะนำไปใช้ทาเชลแล็กให้แช่แปรงที่แอลกอฮอล์หรือหากจะทาแลกเกอร์ใช้แช่ทินเนอร์
4) หากขนแปรงหลุดติดชิ้นงาน
ควรทิ้งให้แห้งสนิทแล้วใช้กระดาษทรายน้ำ หรือกระดาษทรายนมลูบออก
การถือแปรงทาให้ถือเหมือนกับการจับดินสอ แปรงควรจมลงให้มากกว่า 1/3 ของความยาวขนแปรงเล็กน้อย
และสารเคลือบสีส่วนเกินให้ปาดออกกับขอบในของภาชนะ การทาให้ลากยาวสม่ำเสมอ
ตามเนื้อไม้เฟอร์นิเจอร์ห้ามกดแปรงในขณะทางโดยให้ทำไปเบาๆ และ สม่ำเสมอ
ใช้ส่วนปลายขนแปรงทาบริเวณขอบและมุมต่างๆ
#B2
|
ถังสี
|
กระป๋องผสมสี
ส่วนใหญ่จะใช้กระป๋องสีที่ล้างสะอาดแล้ว และไม่เป็นสนิมมาใช้สำหรับผสมสีต่างๆ
ตามที่ต้องการ
การใช้กระป๋องผสมสีแยกต่างหากจากกระป๋องสีก็เพื่อที่จะผสมได้อย่างอิสระ
สามารถวัดหรือกำหนดส่วนผสมได้อย่างถูกต้องแน่นอน
และเพื่อที่จะคนสีให้เข้ากันได้ดีเสียก่อนที่จะนำไปทา
#B3
|
กระดาษทราย
(Sandpaper)
|
กระดาษทราย (Sandpaper) คือ
กระดาษทรายชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยสารขัดหรือผงขัดติดอยู่บนหน้าของกระดาษ
มีไว้เหตุด้วยขัดพื้นผิวของวัสดุให้เรียบเนียน
ขัดตกแต่งหรือทำให้พื้นผิวมีความหยาบและขรุขระมากกว่าเดิมก็ขึ้นอยู่กับเบอร์ของกระดาษทรายที่เลือกใช้
งานขัดไม้ด้วยกระดาษทราย
จะแบ่งออกเป็นสามระดับเพื่อให้ได้งานไม้ที่ออกมาความสามารถที่สุด
โดยแบ่งลำดับการทำงานดังนี้ ขัดหยาบ ขัดเรียบ ขัดละเอียด
1) ขัดหยาบ (Leveling)
เป็นการขัดด้วยว่าขจัดหรือลบรอยแผลต่างๆบนผิวไม้ที่เกิดจากเครื่องจักรหรือ เครื่องมือ
โดยใช้เบอร์ 120
แต่ถ้าหากผิวหยาบมากหรือเป็นไม้ที่เนื้อแข็งมากๆให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 40,
60, 80 ด้วยเครื่องขัด
2) ขัดเรียบ (Uniforming) เป็นการขัดเพราะว่าลบรอยจากกระดาษทรายที่เกิดจากวิธีการการขัดหยาบ
จะทำให้ผิวไม้มีความเรียบเนียนขึ้น โดยใช้กระดาษทรายเบอร์180
หากเป็นงานไม้ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากก็สามารถจบงานได้ในกระบวนการนี้
3) ขัดละเอียด (Polishing)
เป็นการขัดเพื่อเก็บรายละเอียดโดยจะทำให้ผิวไม้มีความเรียบเนียนมองไม่เห็นรอยของกระดาษทรายในวิธีการของก่อนหน้านี้
ใช้กระดาษทรายเบอร์ 240
4) การขัดก่อนลงสีหรือเคลือบผิวควรทำให้ผิวไม้มีความเรียบเนียนที่สุดเพราะด้วยไม่ให้เกิดร่องรอยเม็ดๆบนผิวไม้โดยใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดคือ
เบอร์ 320 หรือเรียกว่าเบอร์ 0
กระดาษทรายขัดไม้ เบอร์น้อย
ยิ่งจะมีความละเอียดมาก เวลานัดนิยมขัดด้วยมือ
โดยการตัดหรือพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมและใช้ไม้เป็นตัวรอง แล้วนำมาขัดเนื้อไม้
#B4
|
ผ้าเช็ด
|
ผ้าที่นำมาเช็ดทำความสะอาดไม้อาจจะเป็นผ้าด้ายดิบ
หรือผ้าสะอาดที่ไม่เป็นขน เพราะจะไม่เกิดรอยหรือขนตกค้างที่เนื้อไม้
ใช้สำหรับเช็ดทำความสะอาดบริเวณสีส่วนเกินที่ช่างทาสีทาล้ำเข้ามาในเนื้องานส่วนอื่น
โดยการชุบผ้ากับสารละลายของสีนั้น ๆ ก่อนนำไปเช็ดและใช้ทำความสะอาดชิ้นงาน ใช้เช็ดขี้เลื่อยในขณะที่อุดรอยไม้เฟอร์นิเจอร์
เพื่อไม่ให้ขี้เลื่อยเลอะออกนอกบริเวณที่อุดซึ่งเป็นผ้าขี้ริ้ว หรือ
ผ้าชนิดที่ไม่มีขน
#B5
|
เกรียง/เหล็กโป้วสี (Putty
trowel)
|
เกรียงขูดสี-โป้วสีมีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กบางๆ มีความเหนียวและมีสปริงในตัวส่วนปลายจะกว้างและจะสอบแคบในลักษณะโค้งเล็กน้อยเข้าหาส่วนโคน
มีด้ามจับขนาดกะทัดรัดเพื่อให้มือกำได้
เกรียงเหล็กไม่เพียงแต่จะใช้สำหรับขูดเพื่อขจัดสีเก่าออกพื้นที่ที่จะทาสีเท่านั้น
แต่ยังสามารถใช้ในการอุดโป้วตามรอยร้าวหรือรอยตะปู ก่อนการทาสี
เกรียงชนิดนี้จะช่วยให้การอุดและโป้วสีสามารถที่จะกระทำได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้สีที่โป้วแน่น และเรียบร้อยกว่าการใช้เครื่องมือชนิดอื่นๆ
ขนาดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปกับงานทาได้แก่ขนาด 1 ถึง 2 นิ้ว
Ø ปลายเกรียงเหล็กโป้ว
หากใช้งานไปนานๆจะมีความคมคล้ายมีดอาจจะต้องระมัดระวังในการใช้งาน
#B6
|
เครื่องขัดกระดาษทราย (Power
Sander)
|
เครื่องขัดกระดาษทรายเป็นเครื่องขัดที่นิยมใช้กับงานไม้
ใช้สำหรับการขัดตกแต่งพื้นผิวของชิ้นงานให้เรียบก่อนการลงสี หรือลงวัสดุเคลือบผิวอื่น
ๆ เครื่องขัดกระดาษทรายนิยมใช้กับกระดาษทรายหยาบ
หรือที่ชาวบ้านชอบเรียกว่ากระดาษทรายแดง โดยเป็นกระดาษทรายเบอร์ 80 เครื่องขัดกระดาษทรายแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
แบบสายพาน (belt sander) และ แบบขัดละเอียด (finishing
sander)
สำหรับเครื่องขัดแบบสายพาน เป็นเครื่องขัดหยาบใช้สำหรับขัดเพื่อปรับระดับผิวไม้ขั้นแรก
ส่วนเครื่องขัดแบบขัดละเอียดก็จะมีทั้งแบบที่ทำงานในลักษณะที่เคลื่อนตัวไป –
มาในแนวเส้นตรง (straight line action) แบบส่ายวงกลม
(orbital action) และแบบส่ายไป – มา (multi-motion
action) ซึ่งในแบบแรกแม้จะทำงานค่อนข้างช้ากว่า 2 แบบหลัง แต่ก็ทิ้งรอยไว้น้อยกว่า
วิธีการใช้เครื่องขัดกระดาษทราย
1. ตัดกระดาษทรายแดงเบอร์
80 ให้มีขนาดเท่ากับพื้นเครื่องขัด
2. นำกระดาษทรายแดงไปวางไว้บนพื้นเครื่องขัดและพับหัวท้ายให้ตรงกับล็อคของเครื่องขัด
3. ให้แน่ใจว่าเครื่องขัดกระดาษทรายปิดแน่นอนก่อนจะเสียบปลั๊กไฟ
4. ปรับความตึงของสายพานขัดเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงาน
5. ใช้เครื่องขัดกระดาษทรายในทิศทางที่ถูกต้อง อย่าเปลี่ยนทิศกะทันหัน
6. ให้มือห่างจากสายพานเครื่องขัดกระดาษทราย
7. ใช้มือทั้งสองข้างในการทำงาน จับให้มั่นเหมาะมือ
8. ทำความสะอาดฝุ่นและมอเตอร์หลังจากการใช้งานแล้ว
#B7
|
พู่กัน
และ จานสี (Painting
brush and Palette)
|
โดยส่วนมากจะใช้พู่กันสีน้ำมันในการแต้มสีพื้นไม้
ลักษณะขนพู่กันที่ใช้จะต้องมีความแข็งสามารถรองรับ และทนต่อสีน้ำมันได้ พร้อมทั้งต้องมีแรงสปริงตัว
คืนกลับเข้าที่เดิมได้ดี ส่วนใหญ่ทำจากขนสัตว์ ขนหมู (Hog Bristles)
มีลักษณะขนที่แข็งเป็นเส้น ปลายขนจะแยกเป็นแฉก ส่วนใหญ่แล้วจะใช้พู่กันในการแต่งแต้มสีหรือ
รอยที่เกิดจากการแต่งจากขี้โป้ให้เรียบร้อย เพื่อให้สีเนื้อไม้เสมอกันและสามารถพรางรอยอุดได้
จานสีส่วนใหญ่จะใช้ฝากระป๋องสีที่หมดแล้วมาประยุกต์ใช้
ในการทำเป็นที่รองแต้มสี
#B8
|
ลูกประคบ
|
มีลักษณะคล้ายลูกประคบสมุนไพรแต่แตกต่างกันตรงที่ข้างในลูกประคบจะเป็นก้อนสำลีที่ห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบางแล้วใช้เชือกผูกให้เป็นก้อนกลมและแน่น
ขนาดของลูกประคบขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน ลูกประคบเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้ในการทาพื้นผิวของเชลแล็กด้วย
โดยการทาแบบวนเป็นวงกลมหรือทาเป็นตามแนวยาว แต่ส่วนใหญ่แล้วจะทาเป็นตามแนวยาว
#B9
|
ไม้กวาด
(Broom)
|
ไม้กวาดเป็นไม้กวาดดอกหญ้า
ที่มีบริเวณด้ามจับเป็นไม้หรือพลาสติก โดยจะมีปลายด้ามกวาดทำจากดอกใหญ่ มีขนาดเล็ก
หรือ ขนาดใหญ่ ใช้ในการปัดฝุ่นไม้ที่เกิดจากการขัดในทุกขั้นตอนให้หมดไปจากบริเวณพื้นผิวไม้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น