ขั้นตอนที่ 3 การทาเคลือบผิวด้วยแลกเกอร์ และ เก็บงาน
ขั้นตอนที่ 3 การทาเคลือบผิวด้วยแลกเกอร์ และ เก็บงาน
การทาแลกเกอร์เป็นการเคลือบผิวในขั้นตอนต่อจากเชลแล็ก
การทาเชลแล็กจะทำให้อุดพื้นผิวไม้ให้มีผิวราบเรียบ
เมื่อทาแลกเกอร์ก็จะได้ทาได้สะดวก รวดเร็ว และ ยังลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย
ซึ่งจะการทาแลกเกอร์เคลือบจะประกอบไปด้วย แลกเกอร์เงา หรือ แลกเกอร์ด้าน ตามความต้องการของผู้ซื้อหรือ
ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องการ ซึ่งขั้นตอนการทาแลกเกอร์มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1
แลกเกอร์เงา
|
หากผู้ปฏิบัติต้องการสีเนื้อไม้ที่มีความเงา
ให้ใช้แลกเกอร์เงาทา ในขั้นตอนสุดท้าย โดยจะทาจำนวน 3-4 รอบเพื่อให้พื้นผิวนั้นเกิดความเงางาม ในลำดับต่อไป ในการทาแลกเกอร์เงาอาจจะไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งอาจจะมีการทาเคลือบผิว เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ไม้มีคุณสมบัติที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.1 นำผลิตภัณฑ์ไม้ที่ทาเคลือบด้วยเชลแล็กที่แห้งดีแล้ววางไว้บนถังสี หรือ
หากไม่มีถังสีอาจจะวางไว้บนพื้นแต่จะต้องมีกระดาษปู
เพื่อป้องกันน้ำมันที่ทาหกเลอะพื้น หรือที่ม้านั่งขนาดเล็กที่มีความมั่นคงแข็งแรง
จำนวน 4 ตัวหรือมากกว่านั้นตามขนาดผลิตภัณฑ์ไม้
1.2 ขัดผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ที่ลงเชลแล็ก ด้วยกระดาษทรายที่มีความละเอียด เบอร์
0 ใช้มือจับกระดาษทรายดังกล่าว ค่อยๆลูบที่ผิวของเชลแล็ก ขัดและลูบตามแนวยาวของไม้
ลูบพื้นผิวไม้ดังกล่าวหลายๆครั้งแล้วลองเอาฝ่ามือ ลูบไปที่พื้นผิวหน้าของพื้นผิวไม้สังเกตว่าจะลื่นและไม่สาก
หากว่าสากสามารถ ขัด ลูบพื้นผิวจนพื้นผิวลื่น
1.3 ปัดฝุ่นที่ขัดโดยใช้ไม้กวาดปัดออกให้หมด สังเกตตามซอกและมุมของผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันฝุ่น
ตกค้างในการทาแลกเกอร์เคลือบผิว
1.4 เมื่อเสร็จจากขั้นตอนการทาเชลแล็กเตรียมผสมแลกเกอร์ (ได้อธิบายไว้ใน #A6, #A7 แลกเกอร์) ประมาณ ½ ของความจุของภาชนะ
นำแปรงแลกเกอร์จุ่มลงในภาชนะ พร้อมคนให้เข้ากันเพื่อให้แลกเกอร์ที่ผสมแล้วเข้ากันได้ดี
ปาดขนแปรงกับปากภาชนะให้ขนแปรงพอชุ่มแลกเกอร์
1.5 เริ่มการทาแลกเกอร์เงา โดยใช้มือข้างที่ถนัด วางภาชนะที่บรรจุแลกเกอร์ไว้ใกล้ๆเพื่อความสะดวกในการทา
การจับด้ามแปรงทาแลกเกอร์เงาคล้ายกับการจับปากกา หรือ จับแบบเดียวกับแปรงเชลแล็ก
วางปลายขนแปรงแลกเกอร์เงาที่ด้านซ้ายของพื้นผิวไม้ นอนแปรงราบไปกับพื้นผิวไม้โดยหงายฝ่ามือและหัวนิ้วโป้งจับอยู่ด้านบนด้ามแปรง
ลากแปรงทาแลกเกอร์เงาไปทางขวาของพื้นผิวไม้ ยกด้ามแปรงขึ้นเล็กน้อย
นอนแปรงราบไปกับพื้นผิวไม้ โดยคว่ำฝ่ามือและหัวนิ้วโป้งจับอยู่ด้านล่างของแผ่นไม้ ทำแบบนี้จนทั่วผิวพื้นไม้
การทาแลกเกอร์เงาในแต่ละครั้งจะทาไปและกลับในแนวเดียวกัน และทาไปตามแนวไม้ หากทาไปแล้วแปรงแลกเกอร์เงามีความฝืดและไม่ติดพื้นผิวไม้
นำแปรงไปจุ่มภาชนะที่ใส่แลกเกอร์และปาดขนแปรงกับปากภาชนะให้ขนแปรงพอชุ่มแลกเกอร์เงา
แล้วนำไปทาอีกครั้ง
1.6 ทาแลกเกอร์เงาตามแนวไม้ให้เต็มพื้นผิวของไม้ เมื่อทาจนทั่วผลิตภัณฑ์แล้ว ปล่อยให้แลกเกอร์เงาแห้ง
โดยใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
1.7 ทิ้งผลิตภัณฑ์ไม้ไว้ประมาณ 20-30 นาที จากนั้นตรวจดูพื้นผิว
เพื่อตรวจดูว่ามี รอยเม็ดฝุ่น ซึ่งเกิดจากฝุ่นไม้ปลิวใส่
ตรวจดูว่ามีขนแปรงหลุดติดอยู่หน้าพื้นผิวหรือไม่ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ สามารถแก้ไขโดยการนำกระดาษทรายเบอร์
0 ค่อยๆขัดลูบออกและขับลูบต่อไปจนทั่วพื้นผิวไม้ ใช้
ไม้กวาดปัดฝุ่นออกให้หมด
ลูบตรงบริเวณเดิมอีกครั้งก่อนที่จะลงมือทาแลกเกอร์เงาต่อไปในครั้งที่ 2, 3,
4 หรือมากกว่านั้นก็ตาม แต่ ข้อแนะนำในการทาที่ ผู้เชี่ยวชาญเน้นคือ
จะต้องทาตามแนวยาว เพราะจะทำให้สีที่ทาเป็นแนวเรียบและสวยงาม
การทาแลกเกอร์เงาสามารถทาซ้ำได้หลายเพื่อเคลือบให้พื้นผิวมีความหนายิ่งทาหลายครั้งก็จะทำให้พื้นผิวมีความหนาและสวยงาม
แต่ผลิตภัณฑ์อาจจะมีราคาสูงกว่างานปกติที่ทาแลกเกอร์ 1-2 ครั้ง แต่คุณภาพจะอยู่ใน ระดับการใช้งานเท่ากัน แต่อาจจะต่างกันตรงที่สีหรือความหนาของผิวหน้าไม้เล็กน้อยเท่านั้นแต่เฟอร์นิเจอร์ของท่านจะมีความสวยงามแน่นอน
ข้อแนะนำที่ 1 หากว่าพื้นผิวไม้บริเวณที่เกิดจากการอุดรอยตำหนิ
หรือ บางแผ่นอาจจะเป็นไม้หนุ่มมีกระพี้ไม้ที่มีสีขาว หรือ สีเนื้อไม้ไม่สม่ำเสมอจะต้องมีการแต่งเติมสี
และ เก็บงานในการทาหลักจากทาแลกเกอร์เงาครั้งที่
1 (อธิบายไว้ในข้อ 3.3)
ถึงจะสามารถทาแลกเกอร์เงาในครั้งที่ 2, 3 หรือ 4 ต่อไป
ข้อแนะนำที่ 2
การทาแลกเกอร์ในผลิตภัณฑ์นั้นสามารถทนน้ำได้
แต่หากผู้ใช้งานต้องงานให้ผลิตภัณฑ์ทนความร้อนก็สามารถทาสารเคลือบผิวที่สามารถทนความร้อนได้
เพื่อให้เกิดการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
การเดินลูกผ้า
หรือ การเดินลูกประคบ **
การเดินลูกประคบเป็นการเพิ่มความหนาให้แก่พื้นผิวของไม้
และยังเป็นการทำงานที่ละเอียดและใช้เวลามาก
ซึ่งการเดินลูกประคบนี้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามีมานานมากแล้ว เป็นการนำลูกประคบที่ข้างในเป็นสำลีและมีลักษณะคล้ายลูกประคบสมุนไพรมาเดินหลังจากขั้นตอนการทาแลกเกอร์เงาในครั้งที่
2และ 3 เสร็จ โดยมีวิธีทำดังต่อไปนี้
1) นำลูกประคบไปชุบแลกเกอร์
และ ตามด้วยชุบทินเนอร์ ชุบจนให้สำลีอุ้มแลกเกอร์และทินเนอร์ไว้
2) นำลูกประคบไปเดินบนพื้นผิวไม้
จนทั่วพื้นไม้
3) เมื่อเดินเสร็จรอบแรกทิ้งไว้ประมาณ
20-30 นาที ก็เดินรอบต่อไปซ้ำ
4) การเดินลูกประคบจะเดินประมาณ
4-5 รอบ ให้พื้นผิวมีความหนามากและสวยงาม
ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าหากต้องการให้พื้นผิวมีขนาดหนาและผลิตภัณฑ์มีความละเอียดมากยิ่งขึ้นจะมีการเดินลูกผ้า
แต่ส่วนใหญ่จะใช้กับงานที่มีเวลามากเท่านั้น
โรงงานทั่วไปอาจจะข้ามขั้นตอนนี้ไปเพื่อประหยัดเวลา และ ลดต้นทุน
**
หมายถึง การเดินลูกประคบเป็นการทาแลกเกอร์โดยใช้
ลูกประคบที่คล้ายลูกประคบสมุนไพรทาลงพื้นผิวไม้ จะทำให้พื้นผิวไม้มีความหนา
และป้องกันรอบขีดข่วนได้ดี
หากเป็นงานที่มีราคาหรือต้องการความละเอียดผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทำขั้นตอนนี้
หมายเหตุ
การทาแลกเกอร์เงาอุณหภูมิควรอยู่ที่ 20-35 องศาเซลเซียส มีแสงแดด
ควรทาช่วงฤดูร้อน เพราะความชื้นในอากาศมีน้อย
ทำให้ทินเนอร์ที่ผสมลงในแลกเกอร์เงาระเหยออกไปได้ดี รวดเร็ว แลกเกอร์เงาก็จะแห้ง
เป็นเงางามตามที่ต้องการ
3.2 แลกเกอร์ด้าน
|
หากต้องการผลิตภัณฑ์ไม้สีเนื้อไม้ด้านจะต้องแลกเกอร์ด้านเพิ่ม
สำหรับแลกเกอร์ด้าน ซึ่งเป็นการทาแลกเกอร์ด้าน เพื่อการทาทับผิวของแลกเกอร์เงา การทาแลกเกอร์ด้านจะทา
3-4
เพื่อให้ได้สีด้านสนิทและเพื่อให้พื้นผิวไม้มีความหนา เป็นขั้นตอนสุดท้ายของสีเนื้อไม้ด้าน
ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
2.1 ขัด และ ลูบพื้นผิวหน้าของผลิตภัณฑ์แลกเกอร์เงาที่แห้งสนิท
ด้วยกระดาษทรายเบอร์ 0 ทุกซอกทุกมุม
ให้ทั่วบริเวณที่ทาแลกเกอร์จนพื้นลื่น
2.2 ทำความสะอาดปัดฝุ่นด้วย ไม้กวาด ระวังอย่าให้ฝุ่นกระจายไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ทาอยู่
ตรวจดูซอกมุมว่ายังมีฝุ่นตกค้างหรือไม่ ถ้ามีปัดออกให้หมด
2.3
เตรียมภาชนะที่ใส่แลกเกอร์ด้าน เทแลกเกอร์ด้านที่ผสมไว้แล้ว (วิธีการผสมแลกเกอร์ด้านและทินเนอร์) ลงในภาชนะประมาณ
½ ของความจุ นำแปรงทาแลกเกอร์ด้านมาจุ่มที่ภาชนะ
คนแลกเกอร์ด้าน 2-3 รอบ เพื่อให้แลกเกอร์ผสมให้เข้ากันได้ดี ปาดขนแปรงกับปากภาชนะให้ขนแปรงพอชุ่มแลกเกอร์
2.5 เริ่มการทาแลกเกอร์ด้าน การทาจะคล้ายกับการทาเชลแล็กและแลกเกอร์เงา โดยการจับด้ามแปรงทาแลกเกอร์ด้านจะคล้ายกับการจับปากกา
วางปลายขนแปรงแลกเกอร์ด้าน ด้านซ้ายของพื้นผิวไม้ นอนขนแปรงราบไปกับพื้นผิวในลักษณะหงายมือ
หัวนิ้วโป้งอยู่บนด้ามแปรง ลากแปรงทาแลกเกอร์ด้านไปทางขวาพร้อมทั้งยกด้ามแปรงให้ตั้งฉากกับพื้นผิวของแผ่นไม้
ทำแบบนี้จนทั่วผิวพื้นไม้ การทาแลกเกอร์ด้านในแต่ละครั้งจะทาไปตามแนวไม้ ทาไปและกลับในแนวเดียวกัน
หากทาไปแล้วแปรงแลกเกอร์ด้านมีความฝืดและไม่ติดพื้นผิวไม้
นำแปรงไปจุ่มภาชนะที่ใส่แลกเกอร์ด้านและปาดขนแปรงกับปากภาชนะให้ขนแปรงพอชุ่มแลกเกอร์ด้าน
แล้วนำไปทาอีกครั้ง
2.6 ทาแลกเกอร์ด้านต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเต็มพื้นผิวไม้ดังกล่าว ปล่อยทิ้งไว้ให้แลกเกอร์ด้านแห้งสนิทโดยใช้เวลาประมาณ
20-30 นาที
2.7 ทิ้งผลิตภัณฑ์ไว้ 20-30 นาที เคล็ดลับการมองแลกเกอร์ด้านจะมองเมื่อมองแบบเฉียงและเห็นแลกเกอร์ด้านเป็นน้ำอยู่บนพื้นผิวไม้แสดงว่าแลกเกอร์ด้านยังไม่แห้ง
ต้องรอจนกระทั่งแลกเกอร์ด้านแห้ง
2.8 เมื่อแลกเกอร์ด้านแห้งเรียบร้อยแล้ว
นำกระดาษทรายเบอร์ 0
ค่อยๆขัดลูบออกและขับลูบต่อไปจนทั่วพื้นผิวไม้ ใช้ไม้กวาดปัดฝุ่นออกให้หมด
ลูบตรงบริเวณเดิมอีกครั้งก่อนที่จะลงมือทาแลกเกอร์ด้านต่อไปในครั้งที่ 2 3
4 หรือ ตามที่ต้องการ การทาจะทาตามลายไม้ การทาแลกเกอร์ หลายๆ รอบเพื่อให้ผิวไม้หนา
และ สีเนื้อไม้จะออกสีด้านสนิททำให้ดูเรียบหรู
อีกทั้งยังทำให้พื้นผิวไม้มีความแข็งแรง ทนทานต่อการขีดข่วนอีกด้วย
วิธีการผสมแลกเกอร์เงาและทินเนอร์
เมื่อต้องการให้สีเนื้อไม้เป็นสีเงา
แลกเกอร์เงาเป็นผลผลิตที่นำมาเป็นของเหลว
มีความข้นและเหนียว มีตัวทำละลายคือ ทินเนอร์
ดังนั้นก่อนนำมาใช้งานจะต้องผสมแลกเกอร์เงากับทินเนอร์ให้เข้ากันเสียก่อน
เพื่อให้ได้ความเจือจางตามที่ต้องการซึ่งมีขั้นตอนในการผสมดังนี้
1) เตรียมภาชนะที่จะผสมแลกเกอร์เงาและทินเนอร์
2) เทแลกเกอร์เงาซึ่งจะใช้ส่วนผสม
1 : 3 โดยจะใช้แลกเกอร์เงา 1 ส่วนต่อ
ทินเนอร์ 3 ส่วน
ผสมเพื่อให้แลกเกอร์เจือจางเพราะว่าแลกเกอร์ด้านมีความข้นเหนียวมาก
3) ใช้ไม้คนแลกเกอร์เงาให้ละลายเข้ากับทินเนอร์ ตรวจดูหากแลกเกอร์เงายังข้นหนืด
และ หยดเป็นสายให้สามารถเติมทินเนอร์ได้อีกเล็กน้อย คนส่วนผสมให้เข้ากัน
4) เมื่อผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วเตรียมแบ่งไปใช้ทาแลกเกอร์เงาได้
วิธีการผสมแลกเกอร์ด้านและทินเนอร์
เมื่อต้องการให้สีเนื้อไม้เป็นสีด้าน
การทาแลกเกอร์ด้านเป็นการเคลือบผิวไม้ครั้งสุดท้าย
เพื่อให้เกิดความสวยงามและประหยัด ซึ่งการทาแลกเกอร์เงาก่อน จากนั้น
จึงทาแลกเกอร์ด้านทับซึ่งมีขั้นตอนในการผสมดังนี้
1) เตรียมภาชนะที่จะผสมแลกเกอร์ด้านและทินเนอร์
2) เทแลกเกอร์ด้านซึ่งจะใช้ส่วนผสม
1 : 3 โดยจะใช้แลกเกอร์ด้าน 1 ส่วนต่อ
ทินเนอร์ 3 ส่วน
3) ใช้ไม้คนแลกเกอร์ด้านให้ละลายเข้ากับทินเนอร์ ตรวจดูหากแลกเกอร์ด้านยังข้นหนืด
ให้เติมทินเนอร์จนแลกเกอร์ด้านใสตามต้องการ
4) เมื่อผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วเตรียมแบ่งไปใช้ทาแลกเกอร์เงาได้
หมายเหตุ
กรณีที่มีไม้ชิ้นงานเป็นจำนวนมากๆ พื้นผิวที่ต้องทาเป็นพื้นผิวที่มากและมีหลายๆ
แห่ง ควรผสมแลกเกอร์และทินเนอร์เตรียมเอาไวเทา
เพื่อการปฏิบัติงานจะได้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว
การถ่ายเททินเนอร์จากปีบมาสู่ภาชนะใส่แลกเกอร์ หรือแกลลอนหรือเตรียมเอาไว้ผสมเพิ่มในแลกเกอร์เงาที่กำลังทา
เพราะการเททินเนอร์ออกจากปีบจะลำบากและยุ่งยากและหกง่าย
ข้อควรระวังในการทาแลกเกอร์
1. ควรตรวจดูหลังจากการทาแลกเกอร์ให้เรียบร้อยว่ามีตรงไหนบกพร่อง
หรือ ขาดการทาไป ก็สามารถทาซ้ำให้ทั่วพื้นผิวได้
2. การทาแลกเกอร์ไม่ควรให้แปรงอมแลกเกอร์มากเกินไป
เมื่อจุ่มแปรงลงในภาชนะที่บรรจุแลกเกอร์แล้ว ควรปาดที่ปาก เพื่อรีดแลกเกอร์ออก
และให้แปรงอุ้มแลแกเกอร์ให้พอดี เพื่อไม่ให้แลกเกอร์ย้อยเป็นก้อนตามผลิตภัณฑ์
จะทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมาไม่สวย อาจจะต้องเสียเวลาขัดและทาใหม่อีกรอบ
เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ
|
1.
นำแลกเกอร์ที่ผสมแล้วเทลงในจานสี พร้อมกัน เทฝุ่นเหลือง ฝุ่นแดง ฝุ่นดำ
ที่ผสมให้ได้ตามสีที่ต้องการแล้วผสมให้เข้ากันกับแลกเกอร์
2. นำพู่กันมาจุ่มแลกเกอร์เงาพร้อมกับปาดที่จานสีให้พอชุ่ม
ก่อนจะสังเกตรอยตำหนิที่เกิดจากการโป้ว หรือกระพี้ไม้ที่มีสีที่แตกต่างจากบริเวณแผ่นไม้อื่นๆ
3. นำพู่กันที่จุ่มแลกเกอร์เงาระบายแต้มรอยตำหนิที่เกิดจากการโป้ว
หรือกระพี้ไม้ที่มีสีที่แตกต่างจากบริเวณแผ่นไม้อื่นๆ
สังเกตดูให้ละเอียดรอบคอบว่ามีจุดไหนที่ยังแตกต่างจากพื้นผิวบริเวณอื่น
4. เมื่อแต้มเรียบร้อยแล้วให้ตรวจดูความเรียบร้อยของผลิตภัณฑ์ไม้อีกครั้ง
และรอให้แลกเกอร์ที่แต้มไว้แห้ง
5. ทำการขัดและทาแลกเกอร์เงาในรอบต่อๆไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น