ขั้นตอนที่ 2 การรองพื้นด้วยการทาเชลแล็ก



ขั้นตอนที่ 2 การรองพื้นด้วยการทาเชลแล็ก
2.1 การทาเชลแล็ก


การทาเชลแล็กเป็นการทาสีรองพื้นของที่จะเข้าสู่กระบวนการทาแลกเกอร์เพื่อเคลือบผิวต่อไป ซึ่งในการทาเชลแล็กนั้น อาจจะทา 2-3 รอบ หรือมากกว่านั้นก็ได้หากเนื้อไม้มีสีอ่อน เพื่อทำให้ไม้นั้นมีพื้นผิวที่เรียบ การทาแชลแล็กจะมีขั้นตอนดังนี้
          1) นำผลิตภัณฑ์ไม้ที่จะทาเชลแล็กวางไว้บนถังน้ำมันให้ถังน้ำมันเป็นฐาน เพื่อยกให้ผลิตภัณฑ์ไม้สูงขึ้นเหนือพื้น ทำให้สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับสายตา อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องก้มเงย หรือพลิก ผลิตภัณฑ์ไปมาให้หนักและเกิดอันตรายสำหรับของชิ้นใหญ่
          2) เสร็จจากขั้นตอนการขัดหรือเรียกว่าการปรับพื้นผิวแล้ว เตรียมผสมเชลแล็กเพื่อจะใช้ทาในลำดับต่อไป
          การเตรียมเชลแล็กที่ผสมเรียบร้อยแล้ว
                    2.1) เมื่อผสมเชลแล็กและเมทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วนที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ใช้ไม้คนเชลแล็กผสมให้เข้ากัน
                    2.2) เทเชลแล็กที่ผ่านการผสมแล้วลงในภาชนะที่ตัดปากแล้ว (แกลอนที่มีหูจับมาตัดปากเพื่อให้ได้สัดส่วนแล้วสามารถใช้เป็นภาชนะที่หิ้วและนำไปทาได้สะดวก แถมยังประหยัดการซื้อภาชนะสำหรับใช้งานอีกด้วย) ประมาณ ½ ของความจุของภาชนะ
          3) นำแปรงที่ทาเชลแล็กจุ่มลงไปในภาชนะปาดบริเวณขอบภาชนะเบาๆ เพื่อให้ขนแปรงดูดซับเชลแล็กเอาไว้พอให้ชุ่ม
          4) นำแปรงเชลแล็กมาทาลงที่พื้นผิวไม้ตรงตำแหน่งข้างที่ถนัดอาจจะเริ่มที่ซ้ายไปขวา หรือ ขวาไปซ้ายก็ได้ การทาจะทาไปตามแนวยาวของไม้ ไม่ควรทาตามแนวสวนของไม้เพราะอาจจะทำให้ไม่สวย และ การทาไม่สม่ำเสมอ การจับแปรงจะจับเหมือนการจับปากกา หากเริ่มทาจากทางซ้ายจะเป็นในลักษณะการหงายมือ และหากวนมาทางขวาจะเป็นในลักษณะการคว่ำมือ ในลักษณะนี้จนเต็มพื้นผิวไม้ หากยังไม่เต็มพื้นผิวไม้หรือแปรงเชลแล็กเริ่มแห้งไม่ติดพื้นผิวไม้ ก็นำแปรงไปจุ่มกับเชลแล็กเพิ่ม และกลับมาทาแบบที่กล่าวมาอีกครั้ง
          5) สังเกตดูว่าการทาเชลแล็กลงแล้ว พื้นผิวไม้มีฟองหรือไม่ หากมีให้ทาแชลแล็กเบาๆ จะทำให้ไม่มีฟองเกิดขึ้น
          6) ทาเชลแล็กให้เต็มพื้นผิวผลิตภัณฑ์ไม้ โดยการทาตามแนวยาวไม้
          7) เมื่อทาเชลแล็ก บนผลิตภัณฑ์ไม้จนทั่วแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อรอให้เชลแล็กแห้ง
          8) เมื่อเชลแล็กแห้งเรียบร้อยแล้ว ใช้กระดาษทรายเบอร์ 0 มาขัดลูบผิวเชลแล็กที่ทาเอาไว้ให้เรียบลื่น (การขัดในขั้นตอนนี้ไม่ต้องลงน้ำหนักในการขัดมาก) เมื่อขัดเสร็จแล้วใช้ไม้กวาดปัดฝุ่นพื้นผิวไม้ให้สะอาด
          9) ในการทาเชลแล็กในครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 หรือการทาในครั้งต่อไป จะทาในลักษณะเดียวกับครั้งที่ 1 จนได้พื้นผิวไม้ที่ทาเคลือบด้วยเชลแล็กตามที่ต้องการ โดยปกติแล้วโรงงานส่วนใหญ่จะทาเชลแล็กประมาณ 2-3 รอบ

จากขั้นตอนการขัดปรับพื้นผิว ทาเชลแล็กเพื่อรองพื้นผิวไม้ก่อนที่จะทาสีในขั้นตอนต่อจากนี้ก็จะเป็นการลงแลกเกอร์ หรือเคลือบผิวหน้าไม้ตามผู้ซื้อ หรือ ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องการ

วิธีการผสมเชลแล็กกับเมทิลแอลกอฮอล์
          ในการผสมเชลแล็กในเมทิลแอลกอฮอล์ในโรงงานอุสาหกรรมจะใช้อัตราส่วนดังนี้ คือใช้อัตราส่วน 1 : 10- โดยใช้เชลแล็ก 1 กิโลกรัม ต่อ เมทิลแอลกอฮอร์ 1 ปี๊บ หรือ 10 กิโลกรัม  (โดยประมาณ) ในกรณีมีความข้นมาก ให้เติมเมทิลแอลกอฮอล์ลงไปพร้อมทั้งใช้ไม้คนให้เชลแล็กมีความใส
หากผู้ที่ต้องการทาสีไม้เฟอร์นิเจอร์ขนาดย่อมหรือน้อยชิ้นอาจจะใช้เชลแล็กที่ผสมขายสำเร็จรูปเพื่อจะได้ไม่เป็นการกะสัดส่วนในการผสมแชลแล็กและลดทอนเวลาในขั้นตอนนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ขั้นตอนที่ 1 อุดรอยตำหนิ และการขัด หรือการปรับพื้นผิว

ขั้นตอนและกระบวนการแปรรูปไม้

ขั้นตอนที่ 3 การทาเคลือบผิวด้วยแลกเกอร์ และ เก็บงาน