บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2017

ขั้นตอนที่ 3 การทาเคลือบผิวด้วยแลกเกอร์ และ เก็บงาน

รูปภาพ
ขั้นตอนที่ 3 การทาเคลือบผิวด้วยแลกเกอร์ และ เก็บงาน การทาแลกเกอร์เป็นการเคลือบผิวในขั้นตอนต่อจากเชลแล็ก การทาเชลแล็กจะทำให้อุดพื้นผิวไม้ให้มีผิวราบเรียบ เมื่อทาแลกเกอร์ก็จะได้ทาได้สะดวก รวดเร็ว และ ยังลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย ซึ่งจะการทาแลกเกอร์เคลือบจะประกอบไปด้วย แลกเกอร์เงา หรือ แลกเกอร์ด้าน ตามความต้องการของผู้ซื้อหรือ ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องการ ซึ่งขั้นตอนการทาแลกเกอร์มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 3.1 แลกเกอร์เงา หากผู้ปฏิบัติต้องการสีเนื้อไม้ที่มีความเงา ให้ใช้แลกเกอร์เงาทา ในขั้นตอนสุดท้าย โดยจะทาจำนวน 3-4 รอบเพื่อให้พื้นผิวนั้นเกิดความเงางาม ในลำดับต่อไป ในการทาแลกเกอร์เงาอาจจะไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งอาจจะมีการทาเคลือบผิว เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ไม้มีคุณสมบัติที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1.1 นำผลิตภัณฑ์ไม้ที่ทาเคลือบด้วยเชลแล็กที่แห้งดีแล้ววางไว้บนถังสี หรือ หากไม่มีถังสีอาจจะวางไว้บนพื้นแต่จะต้องมีกระดาษปู เพื่อป้องกันน้ำมันที่ทาหกเลอะพื้น หรือที่ม้านั่งขนาดเล็กที่มีความมั่นคงแข็งแรง จำนวน 4 ตัวหรือมากกว่านั้นตามขนาดผลิตภัณฑ์ไม้ 1.

ขั้นตอนที่ 2 การรองพื้นด้วยการทาเชลแล็ก

รูปภาพ
ขั้นตอนที่ 2 การรองพื้นด้วยการทาเชลแล็ก 2.1 การทาเชลแล็ก การทาเชลแล็กเป็นการทาสีรองพื้นของที่จะเข้าสู่กระบวนการทาแลกเกอร์เพื่อเคลือบผิวต่อไป ซึ่งในการทาเชลแล็กนั้น อาจจะทา 2-3 รอบ หรือมากกว่านั้นก็ได้หากเนื้อไม้มีสีอ่อน เพื่อทำให้ไม้นั้นมีพื้นผิวที่เรียบ การทาแชลแล็กจะมีขั้นตอนดังนี้           1) นำผลิตภัณฑ์ไม้ที่จะทาเชลแล็กวางไว้บนถังน้ำมันให้ถังน้ำมันเป็นฐาน เพื่อยกให้ผลิตภัณฑ์ไม้สูงขึ้นเหนือพื้น ทำให้สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับสายตา อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องก้มเงย หรือพลิก ผลิตภัณฑ์ไปมาให้หนักและเกิดอันตรายสำหรับของชิ้นใหญ่           2) เสร็จจากขั้นตอนการขัดหรือเรียกว่าการปรับพื้นผิวแล้ว เตรียมผสมเชลแล็กเพื่อจะใช้ทาในลำดับต่อไป           การเตรียมเชลแล็กที่ผสมเรียบร้อยแล้ว                     2.1) เมื่อผสมเชลแล็กและเมทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วนที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ใช้ไม้คนเชลแล็กผสมให้เข้ากัน                     2.2) เทเชลแล็กที่ผ่านการผสมแล้วลงในภาชนะที่ตัดปากแล้ว (แกลอนที่มีหูจับมาตัดปากเพื่อให้ได้สัดส่วนแล้วสามารถใช้เป็นภาช

ขั้นตอนที่ 1 อุดรอยตำหนิ และการขัด หรือการปรับพื้นผิว

รูปภาพ
ขั้นตอนที่ 1 อุดรอยตำหนิ และการขัด หรือการปรับพื้นผิว           การอุดรอยตำหนิ และการขัด หรือการปรับพื้นผิว เป็นการทำให้พื้นผิวไม้มีความเรียบและสวยงามก่อนที่จะถึงขั้นตอนการลงสีผลิตภัณฑ์ไม้ ซึ่งการอุดโป้วไม้นั้น เป็นขั้นตอนแรก ก่อนที่จะขัดเพื่อให้พื้นผิวเกิดความลื่น และ เรียบเนียนสวยงาม เรียกได้ว่าขั้นตอนนี้แทบจะเป็นขั้นตอนที่สำคัญเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าทิ้งไว้โดยที่ไม่มีการอุดและขัด ก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราไม่สวยงาม และ ทำให้ลูกค้าปฏิเสธที่จะรับงา ก่อนการทาสีต้องเตรียมพื้นผิวอย่างถูกต้อง การตกแต่ง และ ทำความสะอาดพื้นผิวก่อนการทาสี ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องศึกษา และ ปฏิบัติ การเตรียมพื้นผิวมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.1 การอุดรูตำหนิไม้ พื้นผิวไม้มักมีตำหนิต่างๆที่เกิดขึ้นจาก แมลง หรือ กระบวนการผลิตต่างๆ แต่สามารถทำให้เกิดความสวยงามได้ด้วยขี้โป้ว โดยจะใช้เหล็กโป้วปาดขี้โป้วแล้วไปป้ายตามรูตำหนิไม้ที่เกิดจากแมลง หรือ ร่องรอยห่างตามพื้นผิวไม้ หรือช่วงรอยต่อของไม้เมื่ออุดขี้โป้วไปที่รู การอุดรูตำหนิไม้ที่นิยมใช้งานแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ การอุดตำห