ว่าด้วยเรื่องไม้สัก ...
ไม้สัก
การนำไม้สักมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มีขั้นตอนดังนี้
ไม้สักเป็นไม้ที่แห้งในอากาศได้ง่าย แข็งแรงและอยู่ตัวดี และยังมีความทนทานตามธรรมชาติสูงมาก
ส่วนความสามารถในการอาบน้ำยาไม้นั้น ไม้สักเป็นไม้ที่ค่อนข้างอาบน้ำยายาก
ปริมาณน้ำยาที่เข้าไปในเนื้อไม้ 41-80 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
จากข้อมูลด้านคุณสมบัติการใช้งานของไม้สักสรุปได้ว่า การเลื่อย การไส การเจาะ
และการกลึงอยู่ในระดับค่อนข้างง่าย การยึดเหนี่ยวตะปูอยู่ในระดับปานกลาง
ส่วนการขัดเงาอยู่ในระดับง่าย (สุชาติ ไทยเพ็ชร และคณะ, 2547) ดังนั้น
ไม้สักจึงถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยประโยชน์ทางตรงของไม้สักนั้น
ใช้เนื้อไม้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เรือ รถ เสา เครื่องมือกสิกรรม เครื่องแกะสลัก
และการก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะทำไม้พื้น ฝา กรอบประตูหน้าต่าง ส่วนประกอบต่างๆ
ของอาคารบ้านเรือน เนื่องจากเป็นไม้ที่มีความสวยงาม ไส กบ ตกแต่งได้ง่าย
จึงนิยมนำมาทำเครื่องเรือน ตลอดจนการแกะสลักต่างๆ พานท้ายปืนหีบใส่ของ หีบศพ
เครื่องดนตรีไทยหลายอย่าง ตลอดจนของเด็กเล่น ไม้บาง ไม้อัด
และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆประโยชน์ทางอ้อมของไม้สัก มีอยู่หลากหลายประการ เช่น
เนื้อไม้และใบเป็นสมุนไพรช่วยแก้บวม ลดเบาหวาน ขับลมในลำไส้ แก้ไตพิการ
เปลือกเป็นยาคุมธาตุ ใบอ่อนให้สีแดง ส่วนใบแก่ให้สีน้ำตาลทอง ทำสีย้อม ใช้ย้อมกระดาษ
ย้อมผ้าได้เช่นกัน (สมาคมการป่าไม้แห่งประเทศไทย, 2513)
ส่วนใหญ่แล้วช่างไม้ที่มีความชำนาญในการคัดเลือกไม้จะมีการศึกษาลักษณะของไม้สักเพื่อให้เข้าใจถึงสมบัติในด้านต่างๆ
ของเนื้อไม้ ต้องศึกษาถึงโครงสร้างของเนื้อไม้อย่างหยาบ
และโครงสร้างของเนื้อไม้อย่างละเอียด
เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การคัดเลือกหน้าไม้เพื่อนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ
จากข้อมูล
พบว่าการคัดเลือกไม้ให้สวยงาม
ทำงานง่าย ขัดง่าย ทาสีง่าย สวยงาม ไม่บิดงอ กระพี้หรือลายไม้ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ทำให้ง่ายต่อการทำงาน
กระพี้ คือ เนื้อไม้ส่วนที่มีเซลล์ที่ยังมีอายุน้อย
ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและเก็บสะสมอาหาร จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารที่สะสม
เป็นส่วนที่แมลงและเห็ดราทำลายได้ง่าย
ต้นไม้แต่ละต้น แต่ละชนิดจะมีโครงสร้างแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะ
ทางสรีรวิทยา ทำให้สมบัติของเนื้อไม้แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งสามารถใช้ความแตกต่างนี้ในการพิสูจน์เนื้อไม้
ชนิดต่างๆได้ รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
การคัดเลือกกระพี้ หรือ
ลายไม้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมไม้แปรรูปในจังหวัดแพร่ เพราะเนื่องจากหากมีความชำนาญในการเลือกใช้งานก็จะทำให้เกิดความง่าย
และ สวยงามในกระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ไม้
ตลอดจนเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ไม้อีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น