แบบจำลองความรู้กระบวนการลงสี
แบบจำลองกระบวนการลงสีผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปเฟอร์นิเจอร์
แบบจำลอง
วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิควิธีการแก้ไข และ กระบวนการลงสีไม้แปรรูปฟอร์นิเจอร์
1. แบบจำลองวัสดุและอุปกรณ์ประกอบด้วย
รหัส
|
วัสดุ
|
วิธีการใช้
|
#A1
|
กาวลาเท็กซ์, กาวร้อน
|
ใช้ผสมกับขี้เลื่อยละเอียด
เพื่อใช้ในการอุดรอยไม้
|
#A2
|
ขี้เลื่อยละเอียดหรือฝุ่นไม้
|
ใช้ผสมกาวลาเทค
หรือ กาวร้อน เพื่ออุดรอยไม้เสมอกับหน้าไม้
ให้ดูสวยงามและไม่เป็นตำหนิเรียกว่าขี้โป้ว
|
#A3
|
ดินสอพอง
|
ผสมแชลแล็คหรือน้ำ
เพื่อใช้ในการอุดรอยตำหนิที่เกิดขึ้นกับไม้
|
#A4
|
เชลแล็ก
(Shellac)
|
วัสดุรองพื้นเชลแล็กเป็นวัสดุเคลือบผิวขั้นตอนแรกในกระบวนการทา
|
#A5
|
แลกเกอร์ด้าน
|
แลคเกอร์ด้านเป็นวัสดุเคลือบเพื่อให้พื้นไม้มีความด้านและสวยงาม
|
#A6
|
แลกเกอร์เงา
|
แลคเกอร์ด้านเป็นวัสดุเคลือบเพื่อให้พื้นไม้มีความเงาและสวยงาม
|
#A7
|
เมทานอล (Methanol) หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ (Methyl Alcohol)
|
ผสมแชลแล็ค
(ผงเพื่อให้แชลแล็ค (ละลาย และใช้ในการทาสีไม้ในขั้นตอนแรก
อีกทั้งยังใช้ทำความสะอาดแปรงหลังจากการทาได้อีกด้วย
|
#A8
|
ทินเนอร์ (Thinner)
|
ใช้ผสมกับแลคเกอร์เพื่อให้แลคเกอร์
และสีน้ำมันแห้งเร็ว
|
#A9
|
ฝุ่นเหลือง
ฝุ่นแดง ฝุ่นดำ
|
ผสมในแชลแล็คเพื่อให้ได้เชลแล็กในการทารองพื้น หรือ ผสมกับขี้เลื่อยเพื่อให้ได้ขี้โป้ว
ตามสีที่ต้องการ
|
#A10
|
น้ำสะอาดหรือน้ำประปา
|
ใช้ในการผสมกับดินสอพองเพื่อทำขี้โป้ว
หรือ กระบวนการลงแป้ง
|
รหัส
|
อุปกรณ์
|
วิธีการใช้
|
#B1
|
แปรง
|
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทาสี
มีหลายขนาดด้วยกัน (ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามถนัด)
|
#B2
|
ถังสี
|
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมสี
|
#B3
|
กระดาษทราย
|
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขัดเฟอร์นิเจอร์หลังจากการทามีหลายประเภทที่นิยมใช้ได้แก่
กระดาษทรายหยาบเบอร์ 80 และ กระดาษทรายละเอียดเบอร์ 320 เป็นต้น
|
#B4
|
ผ้าเช็ด
|
ใช้เช็ดขี้โป้วในขณะที่อุดรอยไม้เฟอร์นิเจอร์
เพื่อไม่ให้ขี้เลื่อยเลอะออกนอกบริเวณที่อุด
หรือไว้เช็ดฝุ่นไม้ที่เกิดจากกระบวนการขัด
|
#B5
|
เกรียง/เหล็กโป้วสี
|
ใช้โป้วอุด
ปาด ขี้เลื่อย มีให้เลือกหลายขนาดตามหน้ากว้างของเกรียงเหล็ก
|
#B6
|
เครื่องขัดกระดาษทราย
|
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการขัดพื้นไม้ให้เรียบ
เพื่อไม่ให้หน้าไม้หรือขอบไม้มีเสี้ยน
|
#B7
|
พู่กันและจานสี
|
ใช้แต้มสีพื้นไม้ที่อุดรอยเรียบร้อยแล้วเพื่อให้สีสม่ำเสมอกันและสามารถพรางรอยอุดได้
จานสีส่วนใหญ่จะใช้ฝากระป๋องสีที่หมดแล้วมาประยุกต์ใช้ ในการทำเป็นที่รองแต้มสี
|
#B8
|
ลูกประคบ
|
ลูกประคบคือ
ผ้าห่อสำลีหนาๆและคล้ายลูกประคบสมุนไพร
นำไปชุบแลคเกอร์และทินเนอร์ใช้สำหรับงานละเอียด
|
#B9
|
ไม้กวาด
|
ใช้ในการปัดกวาดฝุ่นไม้ที่เกิดจากกระบวนการขัดในทุกขั้นตอน
|
2. แบบจำลองเทคนิคที่เกิดจากการปฏิบัติงานการทาสีและการแก้ไข
แบบจำลองเทคนิคที่เกิดจากการปฏิบัติงานการทาสีและการแก้ไข
|
||
รหัส
|
การปฏิบัติ
|
เทคนิค
|
#C1
|
ลูกประคบ
(French
Polishing)
|
ทำให้สีเนียนและเงาโดยการเดินลูกผ้าให้เกิดพื้นไม้เฟอร์นิเจอร์เงางามมากยิ่งขึ้น
|
#C2
|
อากาศร้อน
|
1. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดไม้เฟอร์นิเจอร์
2. ขัดแล้วทาเชลแล็กใสที่ไม่ผสมสีเพราะเนื่องจากเชลแล็กมีความเย็น
|
#C3
|
อากาศเย็น
|
1. ใช้สปอร์ตไลท์ส่องให้มีแสง เสมือนกับผลิตภัณฑ์ได้รับความร้อน
2. จุดไฟเผาเชลแล็กให้แห้ง โดยใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวติดไฟ (แต่วิธีที่ 2
ไม่แนะนำ เพราะเนื่องจากหากไม่มีความชำนาญมากพออาจจะเกิดอันตรายได้)
|
#C4
|
การล้างแปรง
|
การล้างแปรงให้ล้างด้วยวัสดุคู่ผสมของสารนั้น
แล้วล้างเที่ยวสุดท้ายด้วยแอลกอฮอล์ จัดขนแปรง
นำมาห่อด้วยกระดาษถุงพลาสติกหากต้องการนำมาใช้ก่อนใช้ให้แช่แอลกอฮอล์เพื่อให้ขนแปรงคืนตัว
|
#C5
|
กระพี้ไม้เนื้ออ่อน
|
ใช้แชลแล็ค
1 รอบทิ้งไว้ 10 นาที
และใช้แชลแล็คสีเข้มกว่าสีพื้นฐานที่ต้องการ แต้มลงไปที่กระพี้
หลังจากนั้นสามารถลงสีได้ตามปกติ
ถ้ากะพี้ยังหายให้ใช้แต่งสีแลคเกอร์ผสมฝุ่นตามสีที่ต้องการ
|
#C6
|
เกิดรูมอด
|
ใช้ดินสอพองผสมแชลแล็ค
โป้วอุดรอยรั่ว
|
#C7
|
การทนน้ำ
|
ไม้เฟอร์นิเจอร์ทุกงานที่ผ่านกระบวนการ
3
ขั้นตอน จะมีความทนทาน สามารถวางแก้วน้ำเย็นได้
แต่ไม่สามารถทนความร้อนได้ หากต้องการให้ทนความร้อนจะต้องทาด้วยวานิชทนความร้อน
|
3. แบบจำลองกระบวนการลงสีผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป
กระบวนการ
|
วัสดุ
|
อุปกรณ์
|
ที่
|
ขั้นตอนการทำ
|
ความรู้
|
เทคนิค
|
อุดรอยตำหนิ
และการขัด หรือการปรับพื้นผิว
|
#A1,#A2,#A3
#A4,#A9
|
#B4,#B5
|
1
|
การอุดรอยตำหนิ
และการขัด หรือการปรับพื้นผิว เป็นการทำให้พื้นผิวไม้มีความเรียบและสวยงาม
|
ใช้
|
|
#B3
#B6,#B9
|
2
|
สังเกตผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป
ตามมุมไม้ หรือตามพื้นผิวไม้ ว่ามีเสี้ยนมี รอยอะไรหรือไม่ จากนั้นขัด
ด้วยเครื่องขัด หรือ เครื่องเตารีดที่ชาวบ้านชอบเรียกกัน โดยการใช้กระดาษทรายแดง
เบอร์ 80
|
ใช้
|
#C6
|
||
#A3,#A9,#A10
|
#B4
|
3
|
การลงแป้ง
*
เป็นขั้นตอนที่ละเอียดและใช้เวลานาน อาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้
|
ใช้
|
||
การรองพื้นด้วยการทาเชลแล็ก
|
#A4,#A7#A9
|
#B1
|
4
|
ทารองพื้นด้วยแชลแล็ก
(สามารถทาทับได้เมื่อทาและขัดในแต่ละรอบเสร็จเรียบร้อย)
รอจนเชลแล็กการทาในแต่ละครั้ง ทิ้งให้เชลแล็กแห้งแล้วถึงจะขัดได้
|
ใช้
|
#C2,
#C3, #C4
|
#B3,#B9
|
5
|
ขัดหรือลูบด้วยกระดาษทรายละเอียด
|
||||
#A4,#A7,#A9
|
#B1
|
6
|
ทาเชลแล็กในครั้งต่อไป
(หากจะให้ดีทา 2-3
รอบ)
|
ใช้
|
#C2,
#C3,
#C4
|
|
การลงแลกเกอร์
และ เก็บงาน
|
#A6,#A8
|
#B1,#B2
|
7
|
ทาแลกเกอร์เงารอบแรก
(สามารถทาทับได้เมื่อทาและขัดในแต่ละรอบเสร็จเรียบร้อย) รอจนแลกเกอร์เงาแห้ง การทาในแต่ละครั้ง
ทิ้งให้เชลแล็กแห้งแล้วถึงจะขัดได้
|
ใช้
|
#C2,
#C3,
#C4
|
#B3,#B9
|
8
|
ขัดหรือลูบด้วยกระดาษทรายละเอียด
|
||||
#A6,#A8
|
#B1,#B2
|
9
|
ทาแลกเกอร์เงาในครั้งที่
2
และครั้งต่อๆไป
|
ใช้
|
#C2,
#C3,
#C4
|
|
#A6,#A8,#A9
|
#B7
|
10
|
การแต้มสีในบริเวณพื้นผิวที่มีสีที่ไม่สม่ำเสมอกันอาจจะเกิดได้จากบริเวณที่มีการโป้วแต่งพื้นผิว
หรือ กระพี้ไม้เนื้อ
|
ใช้
|
#C5
|
|
#A6,#A8
|
#B8
|
11
|
เดินลูกประคบ** จำนวน 5 รอบ โดยการถูตามแนวไม้ รอจนแห้ง
|
ใช้
|
#C1
|
|
#A6,#A8
|
#B1,#B2
|
12
|
ลงแลกเกอร์เงาครั้งสุดท้าย
***
(ขั้นตอนนี้จะเสร็จสิ้นในกระบวนการลงผลิตภัณฑ์ไม้สีเนื้อไม้แบบเงา)
|
ใช้
|
#C2,
#C3,
#C4 #C7
|
|
#B3,#B9
|
13
|
ขัดหรือลูบด้วยกระดาษทรายละเอียด
|
||||
#A5,#A8
|
#B1,#B2
|
14
|
ทาแลกเกอร์ด้านครั้งแรก
ปล่อยให้แห้ง
|
ใช้
|
#C2,
#C3,
#C4
|
|
#B3,#B9
|
15
|
ขัดหรือลูบด้วยกระดาษทรายละเอียด
|
||||
#A5,#A8
|
#B1,#B2
|
16
|
ทาแลคเกอร์ด้านครั้งต่อไป
ในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้พื้นไม้เงา **** โดยจะทา
3-4
รอบตามต้องการ (ขั้นตอนนี้จะเสร็จสิ้นในกระบวนการลงผลิตภัณฑ์ไม้สีเนื้อไม้แบบด้าน)
|
ใช้
|
#C2,
#C3,
#C4
|
* การลงแป้ง
คือการนำดินสอพองมาละลายในทำผสมฝุ่นสี โดยอัตราส่วนที่ต้องการใช้ผ้าชุบ
เช็ดให้ทั่วรอให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที
จากนั้นขัดพื้นไม้ให้ละเอียด อย่าให้แป้งเหลือ บนพื้นไม้
เป่าและปัดฝุ่นที่ขัดแล้วออกให้หมดตามซอกไม้และรอยหยักที่เกิดจากกระบวนการผลิต (อาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ในขั้นตอนนี้)
** การเดินลูกประคบ การเดินลูกประคบเป็นการทาแลกเกอร์โดยใช้
ลูกประคบที่คล้ายลูกประคบสมุนไพรทาลงพื้นผิวไม้ จะทำให้พื้นผิวไม้มีความหนา
และป้องกันรอบขีดข่วนได้ดี (อาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ในขั้นตอนนี้
*** จะเสร็จสิ้นในขั้นตอนที่
12
หากต้องการสีเสื้อไม้แบบเงา
**** จะเสร็จสิ้นในขั้นตอนที่
16
หากต้องการสีเสื้อไม้แบบด้าน
ขอบคุณภาพประกอบจากโรงงานเมเจอร์เฟอร์นิเจอร์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น