บทความ

การคัดเลือกลายไม้เพื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก

รูปภาพ
ขั้นตอนการคัดเลือกลายไม้เพื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก                                 การคัดเลือกลายไม้ หรือ เสี้ยนไม้ที่จะนำมาทำเฟอร์นิเจอร์นั้นจะต้องคำนึงถึง ลักษณะการใช้งาน ของชิ้นส่วนนั้นๆ เป็นหลัก ชิ้นส่วนไหนที่จะต้องรับแรงในการดัดเมื่อนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ควรเลือกชิ้นส่วน หรือ ไม้ที่มีลายตรง มากกว่าลายภูเขาเพราะว่า ไม้ลายตรงให้ความแข็งแรง และ ทนการต้านทาน แรงดัด ( Bending Strength ) ได้มากกว่า ซึ่งจะทำให้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นๆ มีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งานมากขึ้น   ชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ ที่ควรเลือกไม้ลายตรงได้แก่ ขาหน้า ขาหลัง ของเก้าอี้ ขาโต๊ะ พนังโต๊ะ หัวเตียง เป็นต้น  ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก อาจารย์กัญจน์ แย้มสวัสดิ์ , ลุงน้อย และ คุณอรุณี  คนบุญ

ขั้นตอนและกระบวนการแปรรูปไม้

รูปภาพ
ขั้นตอนและกระบวนการแปรรูปไม้                 รูปแบบลายไม้เกิดจากวิธีการเลื่อยไม้ที่แตกต่างกัน ซึ่งวิธีการแปรรูปไม้ แบ่งออกเป็น 2 วิธีดังต่อไปนี้          1. การเลื่อยตัดรัศมี ( Flat Saw )       เป็นวิธีการเลื่อยไม้ตัดรัศมี ซึ่งจะทำให้เกิดลวดลายของเสี้ยนไม้ ( Grain ) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง หรือ ลายภูเขา ( Crown Grain )เป็นส่วนใหญ่ซึ่งไม้ที่ดีจะมีวงปีที่ห่างและทำให้เกิดลายไม้หรือเสี้ยนไม้ลายภูเขาที่มีแนวกว้างซ้อนกันเป็นชั้นๆ ส่วนไม้ที่มีวงปีที่ถี่ก็จะมีเสี้ยนไม้ลายภูเขาที่ห่าง ส่วนไม้ที่โตช้าจะมีเสี้ยนไม้ลายภูเขาที่ถี่ ซึ่งทำให้เกิดลวดลายของลายไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวยงามมากกว่า         2. การเลื่อยไม้ตามรัศมี ( Ouater Saw )       เป็นวิธีการเลื่อยไม้ตามแนวรัศมีของไม้ ซึ่งจะทำให้ได้ลายไม้หรือเสี้ยนไม้ที่มีทิศทางของเสี้ยนไม้เป็น ลายเส้นตรง (Straight Grain ) ซึ่งจะทำให้ไม้ที่แปรรูปด้วยการเลื่อยไม้ตามรัศมีส่วนใหญ่จะออกมาเป็นเส้นตรง (เส้นที่อยู่ชิดติดกันและห่างกันออกไป ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก อาจารย์กัญจน์ แย้มสวัสดิ์ , ลุงน้อย และ คุณอรุณี  คนบุญ

กระบวนการคัดเลือกลายไม้

รูปภาพ
การคัดเลือกลายไม้มีดังต่อไปนี้                                                  1) พื้นที่ปลูกไม้สัก                                 2)  การวางแผน                     การผลิตเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูงจะใช้ไม้แปรรูปที่ใช้ลายเป็นเสี้ยนตรงมาผลิตชิ้นส่วน เนื่องจากไม้ที่มีเสี้ยนตรงหรือ ลายเส้นตรง ซึ่งจะมีความแข็งแรงและสามารถรับแรงกด แรงดัด และ แรงเฉือนได้มากกว่าไม้ที่มีเสี้ยนไม่ตรง อีกทั้งไม้เสี้ยนตรง หรือลายตรงจะมีความคงขนาด ( Stability ) มากกว่า เมื่อนำไปใช้งานสภาวะที่มีความสัมผัสกับความชื้นสูงหรือในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง การบิดงอ และการขยายตัวของไม้จะ มีน้อย และ สมดุลกันเกือบทุกด้าน เนื่องจาก   ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก อาจารย์กัญจน์ แย้มสวัสดิ์ , ลุงน้อย และ คุณอรุณี  คนบุญ

ว่าด้วยเรื่องไม้สัก ...

รูปภาพ
ไม้สัก                 การนำไม้สักมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มีขั้นตอนดังนี้ ไม้สักเป็นไม้ที่แห้งในอากาศได้ง่าย แข็งแรงและอยู่ตัวดี และยังมีความทนทานตามธรรมชาติสูงมาก ส่วนความสามารถในการอาบน้ำยาไม้นั้น ไม้สักเป็นไม้ที่ค่อนข้างอาบน้ำยายาก ปริมาณน้ำยาที่เข้าไปในเนื้อไม้ 41-80 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากข้อมูลด้านคุณสมบัติการใช้งานของไม้สักสรุปได้ว่า การเลื่อย การไส การเจาะ และการกลึงอยู่ในระดับค่อนข้างง่าย การยึดเหนี่ยวตะปูอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการขัดเงาอยู่ในระดับง่าย (สุชาติ ไทยเพ็ชร และคณะ , 2547 )  ดังนั้น ไม้สักจึงถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยประโยชน์ทางตรงของไม้สักนั้น ใช้เนื้อไม้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เรือ รถ เสา เครื่องมือกสิกรรม เครื่องแกะสลัก และการก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะทำไม้พื้น ฝา กรอบประตูหน้าต่าง ส่วนประกอบต่างๆ ของอาคารบ้านเรือน เนื่องจากเป็นไม้ที่มีความสวยงาม ไส กบ ตกแต่งได้ง่าย จึงนิยมนำมาทำเครื่องเรือน ตลอดจนการแกะสลักต่างๆ พานท้ายปืนหีบใส่ของ หีบศพ เครื่องดนตรีไทยหลายอย่าง ตลอดจนของเด็กเล่น ไม้บาง ไม้อัด และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆประโยชน์ทางอ้อมของไม้สัก มีอ